กลยุทธ์การบริการหลังการขาย

ข้อความต้อนรับ

WELCOME TO MALAYSIA

VDO

วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิเคราะห์ SWOT ANALYSIS

ปลาทูน่ากระป๋อง

Strength  (จุดแข็ง)
  1. ประเทศไทยได้เปรียบด้านทำเลที่ตั้ง ซึ่งอยู่ระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย อันเป็นแหล่งวัตถุดิบปลาทูน่าทั่วโลก ทำให้มีความสะดวกในการรับซื้อวัตถุดิบ
  2. แรงงานไทยมีศักยภาพและความชำนาญในการแปรรูปอาหารทะเล โดยเฉพาะขั้นตอนการลอกหนัง แยกหัวปลา และเลาะก้างออกให้เหลือเพียงเนื้อปลา ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญในการผลิตปลาทูน่ากระป๋อง 
  3. ผู้ประกอบการไทยมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ใหม่ๆ ให้สะดวกและสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้นเป็นลำดับ
  Weakness  (จุดอ่อน)
  1. สุขอนามัยของแหล่งวัตถุดิบ และสถานที่ที่เกี่ยวข้องบางแห่ง เช่น สะพานปลา เรือประมง และโรงงานแปรรูปขนาดเล็ก ยังไม่ได้มาตรฐาน ส่งผลกระทบต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์
  2. ปลาทูน่ากระป๋องเป็นสินค้าราคาถูกในความรู้สึกของผู้บริโภค ทำให้ปรับขึ้นราคาขายได้ไม่มากนัก
  3. เผชิญปัญหาขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ชื้นแฉะ และมีกลิ่นเหม็น
Opportunity  (โอกาส)
  1. กระแสความนิยมบริโภคผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ปลาทูน่ากระป๋องซึ่งผลิตมาจากปลาทะเลจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความนิยมตามการขยายตัวของความต้องการ
  2. ปลาทูน่ากระป๋องจัดเป็นอาหารฮาลาลจึงเหมาะกับประชากรประเทศมาเลเซีย เพราะประชากรส่วนใหญ่ของประเทศมาเลเซียนับถือศาสนาอิสลาม และปลาทูน่ากระป๋องก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามที่สามารถรับประทานได้
  3. ตลาดยังมีความต้องการในผลิตภัณฑ์อาหารทุกประเภทเพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนของตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ
Threat  (อุปสรรค)
  1. ต้นทุนบรรจุภัณฑ์ชนิดถุงอะลูมิเนียมของไทยค่อนข้างสูง เพราะต้องพึ่งพาการนำเข้า ขณะทีผู้บริโภคมีแนวโน้มนิยมสินค้าในบรรจุภัณฑ์แบบถุงอะลูมิเนียมมากขึ้น
  2. ปัญหาด้านเทคนิคต่อการค้า ซึ่งประเทศมาเลเซียนำมาใช้เป็นเงื่อนไขทางการค้า เช่น การใช้ข้อกำหนดทางเทคนิคเกี่ยวกับคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ การบรรจุหีบห่อ การติดฉลาก ทำให้ต้นทุนการผลิตปลาทูน่ากระป๋องสูงขึ้น

บทความปลาทูน่ากระป๋องส่งออกรุ่ง

บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด

วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประชาชนและถิ่นฐานชาวมาเลเซีย

                      ประเทศมาเลเซียประกอบด้วยเชื้อชาติใหญ่ๆ 3 กลุ่ม คือ ชาวมลายู ชาวจีน และชาวอินเดีย ประชาชนชาวมาเลเซีย ร้อยละ 60.4 มีการนับถือศาสนาอิสลามมากที่สุด รองมานับถือศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาฮินดู
         ภูมิประเทศบนแหลมมลายูเป็นหนองบึงตามชายฝั่ง และพื้นดินจะสูงขึ้นเป็นลำดับ จนกลายเป็นแนวเขาด้านในของประเทศ โดยมีพื้นที่ราบอยู่ระหว่างแม่น้ำสายต่างๆ พื้นดินไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์ แต่เหมาะสำหรับปลูกยางพาราและต้นปาล์ม ด้านในประเทศจะมีพืชพันธุ์ไม้นานาชนิดขึ้นตามบริเวณป่าดงดิบ


วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความแตกต่างของการตลาดระหว่างประเทศกับการค้าระหว่างประเทศ มีดังนี้

ตลาดระหว่างประเทศ (International Marketing)
        คือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าจากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ


การค้าระหว่างประเทศ (International trade)
      คือ การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันระหว่างประเทศต่างๆกัน ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากแต่ละประเทศมีทรัพยากรไม่เหมือนกัน ประเทศหนึ่งผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง แต่ผลิตอีกชนิดหนึ่งไม่ได้ จึงจำเป็นต้องนำสินค้าอีกประเทศหนึ่งที่ตนผลิตได้ไปแลกเปลี่ยนกับอีกประเทศหนึ่ง


*   ความแตกต่างของการตลาดระหว่างประเทศกับการค้าระหว่างประเทศ มีดังนี้ 
          “ การตลาดระหว่างประเทศ (International Marketing) ” เป็นการ ทำธุรกิจทางการตลาดระหว่างประเทศ และเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าหรือบริการ โดยแสวงหารายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ  แต่การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากทรัพยากรที่แต่ละประเทศมีต่างกันออกไป ทำให้ประเทศที่มีทรัพยากรมากกว่าผลิตสินค้าที่ตนผลิตได้ไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าที่ผลิตไม่ได้ จึงกลายเป็น “ การค้าระหว่างประเทศ (International trade) ”