กลยุทธ์การบริการหลังการขาย

ข้อความต้อนรับ

WELCOME TO MALAYSIA

VDO

วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

ข้อเสนอแนะวิธีการทำการตลาดระหว่างประเทศทั้ง 2 ธุรกิจ

          เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเปิดมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน จึงทำให้ประเทศมีลักษณะเสรีและเป็นประเทศทุนนิยม มีการลงทุนของนักธุรกิจต่างชาติเป็นจำนวนมาก ซึ่งก่อให้เกิดผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย ทำให้การประกอบอาชีพของประชาชนแต่ก่อนในประเทศทำการเกษตร แต่ในระยะหลังๆ การทำงานในภาคธุรกิจอุตสาหกรรมและบริการเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีนายทุนชาวต่างชาติมาลงทุนในไทยมากขึ้น

“ ฟูจิ ” เล็งขายแฟรนไชส์ลุยตปท.ทุ่ม 400 ล.ผุดบูติกโฮเต็ลขยายฐาน
  • ข้อเสนอแนะวิธีการทำการตลาดระหว่างประเทศ
  1. ทางเครือร้านอาหารฟูจิ ควรมีการศึกษาความได้เปรียบในการแข่งขันว่า เครือร้านอาหารฟูจินั้นมีความถนัดหรือความเก่งในด้านใด เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ว่าเหมาะสมไหมกับการที่จะขยายธุรกิจร้านอาหารฟูจิไปสู่ธุรกิจโรงแรม 
  2. ควรมีการศึกษาข้อมูลของประเทศไทยให้เข้าใจและรู้จริงว่า ประชากรในประเทศมีลักษณะการดำเนินชีวิต วัฒนธรรม การศึกษา สังคม ศาสนา ทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม เเละรายได้ เป็นอย่างไร 
  3. ควรคำนึงถึงแหล่งวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ในการประกอบธุรกิจว่า ในประเทศไทยบริเวณหาดเชวง เกาะสมุย นั้นสามารถขนส่งสินค้าและการจัดซื้อวัตถุดิบได้สะดวกหรือเปล่า เพื่อที่จะได้ช่วยลดต้นทุนในการขนส่งวัตถุดิบ 
  4. คณะกรรมการผู้จัดการควรที่จะนำความรู้เดิมจากการบริหารโรงแรม “ ฮิบิยาซิตี้โฮเต็ล ” ในประเทศญี่ปุ่นนั้นมาต่อยอดหรือประยุกต์ใช้กับประเทศไทย และมีการปรับปรุงแผนหรือกลยุทธ์ในการดำเนินงานให้ดีขึ้นเลื่อยๆ เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามารับบริการ และเกิดความพึงพอใจมากที่สุด

“ เอ็มเค ” ฉลองครบ 300 สาขา ย้ำความสำเร็จนวัตกรรมบริการ
  • ข้อเสนอแนะวิธีการทำการตลาดระหว่างประเทศ
  1. ควรมีการศึกษาข้อมูลของประเทศที่ต้องการไปลงทุนว่า ประชากรในประเทศนั้นมีลักษณะวัฒนธรรม การศึกษา สังคม ศาสนา ทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม เเละรายได้ เป็นอย่างไร โดยเฉพาะเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคของประชากรในประเทศที่จะไปลงทุน 
  2. ควรมีการศึกษาความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริงของประเทศที่ไปลงทุนว่า ต้องการได้รับสินค้าหรือบริการแบบใดที่ลูกค้าต้องการ และทำให้เกิดความพึงพอใจสูงสุด 
  3. MK ควรที่จะมาลงทุนในต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศในเเถบเอเชีย เนื่องจาก MK มีจุดขายที่เป็นร้านอาหารสำหรับครอบครัวและกลุ่มเพื่อน ดังนั้นจึงเหมาะกับวัฒนธรรมของชาวเอเชียมากกว่ายุโรป 
  4. ควรหากลยุทธ์ที่สามารถสร้างความเหนือกว่าคู่แข่งรายอื่นๆ เช่น การนำกลยุทธ์บริหารที่เน้นนวัตกรรมการให้บริการครบวงจรที่ MK ใช้อยู่ในขณะนี้ เพื่อให้บริการที่ตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าให้ได้มากที่สุด ซึ่งคือการบริหารจัดการด้วยแนวคิด QCQS ได้แก่ ความรวดเร็วในการให้บริการ (Q = Quickness), ความสะอาดของอุปกรณ์เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร (C = Cleanliness), คุณภาพของอาหารที่มีการตรวจสอบมาตรฐานอย่างเข้มงวด (Q = Quality), และการให้บริการที่เป็นเลิศ (S = Service)” เป็นต้น และเป็นการสร้างความแตกต่างอีกอย่างหนึ่งของธุรกิจ 
  5. ควรคำนึงถึงการนำวัตถุดิบของประเทศที่ลงทุนมาพัฒนาหรือดัดแปลงให้เข้ากับเมนูอาหารที่มีอยู่ เพื่อเป็นการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการนำเข้าสินค้า เเละวัตถุดิบจากประเทศเเม่ (ประเทศไทย)

วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิเคราะห์ SWOT ANALYSIS

ปลาทูน่ากระป๋อง

Strength  (จุดแข็ง)
  1. ประเทศไทยได้เปรียบด้านทำเลที่ตั้ง ซึ่งอยู่ระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย อันเป็นแหล่งวัตถุดิบปลาทูน่าทั่วโลก ทำให้มีความสะดวกในการรับซื้อวัตถุดิบ
  2. แรงงานไทยมีศักยภาพและความชำนาญในการแปรรูปอาหารทะเล โดยเฉพาะขั้นตอนการลอกหนัง แยกหัวปลา และเลาะก้างออกให้เหลือเพียงเนื้อปลา ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญในการผลิตปลาทูน่ากระป๋อง 
  3. ผู้ประกอบการไทยมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ใหม่ๆ ให้สะดวกและสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้นเป็นลำดับ
  Weakness  (จุดอ่อน)
  1. สุขอนามัยของแหล่งวัตถุดิบ และสถานที่ที่เกี่ยวข้องบางแห่ง เช่น สะพานปลา เรือประมง และโรงงานแปรรูปขนาดเล็ก ยังไม่ได้มาตรฐาน ส่งผลกระทบต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์
  2. ปลาทูน่ากระป๋องเป็นสินค้าราคาถูกในความรู้สึกของผู้บริโภค ทำให้ปรับขึ้นราคาขายได้ไม่มากนัก
  3. เผชิญปัญหาขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ชื้นแฉะ และมีกลิ่นเหม็น
Opportunity  (โอกาส)
  1. กระแสความนิยมบริโภคผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ปลาทูน่ากระป๋องซึ่งผลิตมาจากปลาทะเลจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความนิยมตามการขยายตัวของความต้องการ
  2. ปลาทูน่ากระป๋องจัดเป็นอาหารฮาลาลจึงเหมาะกับประชากรประเทศมาเลเซีย เพราะประชากรส่วนใหญ่ของประเทศมาเลเซียนับถือศาสนาอิสลาม และปลาทูน่ากระป๋องก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามที่สามารถรับประทานได้
  3. ตลาดยังมีความต้องการในผลิตภัณฑ์อาหารทุกประเภทเพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนของตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ
Threat  (อุปสรรค)
  1. ต้นทุนบรรจุภัณฑ์ชนิดถุงอะลูมิเนียมของไทยค่อนข้างสูง เพราะต้องพึ่งพาการนำเข้า ขณะทีผู้บริโภคมีแนวโน้มนิยมสินค้าในบรรจุภัณฑ์แบบถุงอะลูมิเนียมมากขึ้น
  2. ปัญหาด้านเทคนิคต่อการค้า ซึ่งประเทศมาเลเซียนำมาใช้เป็นเงื่อนไขทางการค้า เช่น การใช้ข้อกำหนดทางเทคนิคเกี่ยวกับคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ การบรรจุหีบห่อ การติดฉลาก ทำให้ต้นทุนการผลิตปลาทูน่ากระป๋องสูงขึ้น

บทความปลาทูน่ากระป๋องส่งออกรุ่ง

บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด

วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประชาชนและถิ่นฐานชาวมาเลเซีย

                      ประเทศมาเลเซียประกอบด้วยเชื้อชาติใหญ่ๆ 3 กลุ่ม คือ ชาวมลายู ชาวจีน และชาวอินเดีย ประชาชนชาวมาเลเซีย ร้อยละ 60.4 มีการนับถือศาสนาอิสลามมากที่สุด รองมานับถือศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาฮินดู
         ภูมิประเทศบนแหลมมลายูเป็นหนองบึงตามชายฝั่ง และพื้นดินจะสูงขึ้นเป็นลำดับ จนกลายเป็นแนวเขาด้านในของประเทศ โดยมีพื้นที่ราบอยู่ระหว่างแม่น้ำสายต่างๆ พื้นดินไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์ แต่เหมาะสำหรับปลูกยางพาราและต้นปาล์ม ด้านในประเทศจะมีพืชพันธุ์ไม้นานาชนิดขึ้นตามบริเวณป่าดงดิบ


วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความแตกต่างของการตลาดระหว่างประเทศกับการค้าระหว่างประเทศ มีดังนี้

ตลาดระหว่างประเทศ (International Marketing)
        คือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าจากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ


การค้าระหว่างประเทศ (International trade)
      คือ การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันระหว่างประเทศต่างๆกัน ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากแต่ละประเทศมีทรัพยากรไม่เหมือนกัน ประเทศหนึ่งผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง แต่ผลิตอีกชนิดหนึ่งไม่ได้ จึงจำเป็นต้องนำสินค้าอีกประเทศหนึ่งที่ตนผลิตได้ไปแลกเปลี่ยนกับอีกประเทศหนึ่ง


*   ความแตกต่างของการตลาดระหว่างประเทศกับการค้าระหว่างประเทศ มีดังนี้ 
          “ การตลาดระหว่างประเทศ (International Marketing) ” เป็นการ ทำธุรกิจทางการตลาดระหว่างประเทศ และเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าหรือบริการ โดยแสวงหารายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ  แต่การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากทรัพยากรที่แต่ละประเทศมีต่างกันออกไป ทำให้ประเทศที่มีทรัพยากรมากกว่าผลิตสินค้าที่ตนผลิตได้ไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าที่ผลิตไม่ได้ จึงกลายเป็น “ การค้าระหว่างประเทศ (International trade) ”

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

กลยุทธ์การบริการหลังการขาย

การบริการหลังการขาย (After Sales Activity)



            คือ การติดตามเอาใจใส่ลูกค้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์ไปแล้ว โดยให้ความช่วยเหลืออย่างจริงใจและเต็มใจ เช่น การส่งมอบผลติภัณฑ์ การบริการติดตั้ง การบริการตรวจเช็คและแก้ไขข้อบกพร่องของผลิตภัณฑ์ การบริการซ่อมแซม เป็นต้น ดังนั้น พนักงานขายที่ดีต้องมีจิตสำนึกของการเป็นผู้ให้ คอยเป็นผู้ประสานงาน รวมทั้งแจ้งข่าวสารต่างๆ หรือรายละเอียดอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ลูกค้า ซึ่งจะนำไปสู่ความพอใจและการซื้อซ้ำของลูกค้า

กลยุทธ์การบริการหลังการขาย
            เมื่อลูกค้าซื้อสินค้าและบริการไปแล้วใช่ว่าภารกิจการขายจะสิ้นสุดลง เพราะเราไม่ได้ต้องการขายของเพียงแค่ครั้งเดียวแล้วจบกันไป จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการบริการหลังการขายที่ดี เพื่อให้ลูกค้าจดจำและเกิดการซื้อซ้ำในครั้งต่อไป การที่ลูกค้ากลับมาซื้อสินค้าอีกครั้งและยังพบกับพนักงานบริการ ลูกค้าคนเดิมที่คุ้นเคยกัน จะเกิดความรู้สึกที่เป็นกันเอง และไม่ลังเลใจที่จะซื้อสินค้าตัวใหม่ๆ ที่เราแนะนำ ส่วนธุรกิจที่ไม่เคยติดต่อลูกค้าอีกเลยหลังการขาย อาจเสียฐานข้อมูลลูกค้าไปได้โดยง่าย เพราะหากเนิ่นนานไปอาจติดต่อลูกค้าไม่ได้อีก เนื่องจากไม่มีการอัพเดตข้อมูลลูกค้าเป็นระยะ ในที่สุดเราก็จะค่อยๆ เลือนหายไปจากใจของลูกค้า

            ต่อไปนี้เป็นวิธีการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับลูกค้า อยากให้ลองนำไปปรับใช้กันก่อนที่ลูกค้าจะได้เปลี่ยนใจไปใช้บริการจากคู่แข่งของเราแทน
        1.หลังการขายหรือให้บริการ ส่งอีเมลไปขอบคุณลูกค้าเสียหน่อย ทำให้ลูกค้าประหลาดใจ และจะจดจำเราไปได้อีกนานเลยเชียว
      2.ส่งของขวัญเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปให้ลูกค้าใหม่แทนคำขอบคุณที่เขาให้ความไว้วางใจเลือกซื้อสินค้าและบริการจากเรา สร้างความประทับใจให้กับลูกค้าที่ใช้บริการเป็นครั้งแรก จะได้กลับมาซื้อสินค้าและใช้บริการกับเราอีก
      3.ส่ง E-newsletter อัพเดตข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ลูกค้าทราบความเป็นไปของธุรกิจทางร้านผ่านกิจกรรมของทางร้าน ตลอดจนรู้จักสินค้าใหม่ๆ ของทางร้านด้วย
      4.โทรศัพท์หาลูกค้าทุก ๆ 6 เดือน เพียงเพื่อบอกว่าเรายังนึกถึงเขาเสมอ และเพื่อไม่ให้ขาดการติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งลูกค้าอาจย้ายที่อยู่ เปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์ไปได้ การที่เรายังติดต่อลูกค้าอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้เรารักษาฐานข้อมูลลูกค้าไว้ ได้
      5.ส่งการ์ดให้ลูกค้าตามโอกาสและเทศกาลต่าง ๆ เช่น วันเกิด วันขึ้นปีใหม่ เป็นต้น และจะดียิ่งขึ้นถ้าเราแปะรูปตัวเองไปกับการ์ดนั้นด้วย ลูกค้าจะได้จำเราได้ขึ้นใจ
      6.ส่งของขวัญเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เป็นสัญลักษณ์แห่งความซาบซึ้งใจที่เรามีต่อลูกค้าชั้นดีในโอกาสและเทศกาลสำคัญ
      7.ถ้ามีโอกาส ควรกล่าวถึงธุรกิจ สินค้าและบริการของเราด้วย แต่อย่าให้ดูเป็นการขายของจนน่าเกลียดเกินไป

          การให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่น่าจดจำ การทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ ลูกค้าจะไม่มีวันหนีหายไปไหน เพราะว่าเราได้ใจลูกค้าไปเต็มๆ

การให้บริการลูกค้า
ให้ความสำคัญในทุกขั้นตอน
        1)  เน้นการต้อนรับที่สร้างความประทับใจแก่ลูกค้าทันทีที่ลูกค้าเข้าร้าน
      2)  ด้านการตรวจวัดสายตาประกอบแว่น เน้นการดำเนินการตามขั้นตอน เพื่อให้ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่นในคุณภาพการให้บริการ
      3)  การซ่อม ตรวจสอบอาการหากสามารถซ่อม ได้จึงดำเนินการซ่อมเอง หากซ่อมไม่ได้จึงจัดส่งศูนย์ซ่อม โดยต้องดำเนินการอย่างรวดเร็วเพื่อให้สามารถให้บริการได้ประทับใจลูกค้า
     4) มีการติดตามผลการให้บริการ และบริการหลังการขายโดยการรับประกันการซ่อมฟรีภายใน ระยะเวลา 1 ปี


แหล่งที่มา : WWW.th.jobsdb.com/TH/EN/Resources/.../cusotomer_editor32_htm?ID=109
http://www.na-vigator.com/index.php?Itemid=56&catid=25:sales&id=47:-the-selling-process&option=com_content&view=article
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/tech04/60/salemanship/10_01_01.html